การทดสอบความล้าแบบแรงอัดและแรงบิดของปลายหัวเจาะ
ในการทำงานนั้นปลายของหัวเจาะจะต้องตกอยู่ภายใต้แรงกระทำซ้ำกันเป็นรอบ ๆ และมีการเปลี่ยนแปลงของระดับแรงของการสั่นสะเทือนอยู่ตลอดเวลา ซึ่งสิ่งนี้จะส่งผลต่อการเกิดความเค้นแบบเป็นวงรอบซ้ำ ๆ ที่จะส่งผลต่อการเกิดการเสียหายเนื่องจากความล้าได้ เพื่อให้แน่ใจว่าปลายของหัวเจาะนั้นมีความเหมาะสมต่อจุดประสงค์การใช้งานและสามารถทำนายอายุการใช้งานได้ ส่วนประกอบนี้จึงจะต้องถูกทดอสบภายได้สภาวะที่รุนแรงที่สุดภายใต้แรงอัดและแรงบิดร่วมกัน
ฟิกซ์เจอร์การให้แรงกระทำที่ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษได้รับมาจากผู้ผลิตหัวเจาะและถูกติดตั้งเข้ากับเครื่องทดสอบเซอร์โวไฮดรอลิกแบบตั้งโต๊ะรุ่น 8874 ซึ่งเป็นเครื่องทดสอบรุ่นมาตรฐานที่สามารถจะสร้างทั้งแรงในแนวแกนและแรงบิดร่วมกันได้สูงถึง 25 กิโลนิวตันและ 100 นิวตัน-เมตร ตามลำดับ อะแด็ปเตอร์ชุดล่างจะถูกติดตั้งเข้ากับฐานโต๊ะ T-slot และที่หัวจับที่สามารถจับปลายแกนของหัวเจาะ ส่วนด้านบนของฟิกซ์เจอร์จะมีปากจับที่ปลายหัวเจาะคาร์ไบด์ที่เชื่อมต่อเข้าโดยตรงกับโหลดเซลล์แบบสองแกนรุ่น Dynacell™
ภายหลังจากการปรับจูนแบบอัตโนมัติเพื่อทำการกำหนดค่า loop gains ที่เหมาะสมและตั้งค่าการชดเชยเนื่องจากแรงเฉื่อยสำหรับทั้งแกนแนวตรงและแกนแรงบิด ส่วนการทดสอบแรงอัดร่วมกับแรงบิดนั้นจะถูกตั้งค่าโดยใช้โปรแกรมทดสอบแบบไดนามิก WaveMatrix™ซึ่งในการทดสอบนั้นจะประกอบไปด้วยการเพิ่มแรงจนถึงค่าแรงสูงสุดและแรงบิดสูงสุดของทั้งสองแกน จากนั้นทำการทดสอบในรูปแบบของรูปคลื่นทรงสี่เหลี่ยมแบบออฟเซ็ตซ้ำไปมาเพื่อจำกลองการทำงานแบบกระแทกซึ่งเป็นรูปแบบที่รุนแรงสูงสุดของหัวเจาะ ภายหลังจากการทดสอบไปจำนวนรอบที่กำหนด จะมีการวัดค่าแรงบิดที่ต้องใช้ในการคลายปลายหัวเจาะคาร์ไบด์ออกจากหัวจับแล้วจึงทำการทดสอบต่อ โดยค่าแรงบิดในการคลายนี้จะมีการตรวจวัดโดยตลอดการทดสอบและรายงาน
±25 kN/100 Nm (5.6 kip/0.6 kip-in) Axial/Torsional Hydraulic Grips (8260C)
±25 kN/100 Nm (5.6 kip/0.6 kip-in) Axial/Torsional Hydraulic Grips catalog number 8260C
- ผลิตภัณฑ์
- 8/24/2020
- 211.5 KB